Thursday, December 29, 2011

ขำขำ การลอกข้อสอบกัน

ขำขำ การลอกข้อสอบ

       
       คุณครูทุกท่านคงเคยได้ยินว่า ลอกกัน และก็เคยพูดว่านักเรียน  ตั้งใจทำข้อสอบ อย่าลอกกัน ประสบการณ์นี้คงไม่เป็นเฉพาะคนไทย น่าจะเป็น ทั้งโลกก็ว่าได้ เรียกว่า การลอกลอกข้อสอบนี้น่าจะเป็น อินเตอร์ไปซะแล้ว
       และประสบการณ์นี้ใช่ว่าจะมีเฉพาะนักเรียน ตอนคุณครูเป็นนักเรียนก็เคยลอก หรือให้คนอื่นลอก ก็น่าจะมี เรียกว่าสมยอม และปัญหานี้ครูจับไม่ได้ซักที ชวนให้ปวดหัว 
       แต่ถ้ารู้จักวิธีการบ้าง ปวดหัวอาจจะน้อยลงก็ได้เช่นวิธีการ หรือวิชามาร ดังต่อไปนี้
       เพราะผู้ที่ม่ตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือ จะลำบากใจทำไงดีสอบไม่เคยผ่าน โพย(อุปกรณ์โกงข้อสอบ เช่น กระดาษจดข้อความ)ที่ใช้อาจารย์จับได้ทุกที คะแนนก็ใกล้ศูนย์อยู่แล้ว ถ้าสอบตกต้องเรียนซ้ำชั้น ค่าเทอมก็ขูดรีดพร้อมด้วยเตารีดและคันไถ ใครรู้ก็อับอาย เพื่อนโห่ฮา ครูติเตียน พ่อด่า แม่ตี คนข้างบ้านนินทา อัปโยคทั้งวงศ์ตระกูล มันคือความเครียด เครียด เครียด  แต่ปัญหาของท่านจะลดลงเมื่อท่านพบบทความนี้...เป็นเคล็ดลับของการลอกทำข้อสอบ ซึ่งแบ่งได้ดังต่อไปนี้

       1.คัมภีร์หนังมนุษย์
       กลยุทธ์ เป็นวิธีง่ายๆขั้นพื้นฐาน แต่ได้ผลดี เพียงท่านใช้ปากกาขีดเขียนบนเนื้อหนังของท่าน โดยขอแนะนำ ง่ามมือ บริเวณใต้ร่มผ้า ซึ่งสามารถพรางสายตาอาจารย์ได้พอสมควร
       ข้อแนะนำ
       วิธีการดังกล่าว อาจจะมีปัญหาถ้าห้องสอบไม่มีแอร์ ซึ่งจะทำให้ร้อนและเหงื่อออก โพยที่ท่านใช้จะเริ่มเลือนลางจากเหงื่อ ข้อแนะนำที่โคนขา เพราะไม่มีอาจารย์คนไหนกล้ามาตรวจดูตรงนั้น

       2. สลับร่าง สร้างรักกลยุทธ์
       เป็น ชื่อหนังเอเชียของช่อง7 สมัยก่อนที่เคยมาฉายทีหนึ่ง วิธีนี้จะต้องอาศัยคนอย่างน้อย 2 คน เพียงแค่ทำข้อสอบตกบนพื้น แล้วช่วยกันก้มเก็บทั้งสองคน แล้วใช้จังหวะนี้สลับข้อสอบเป็นอัน แล้วค่อยหาจังหวะสลับคืน
       ข้อแนะนำ
      ถ้าผู้ร่วมขบวนการเป็นชายหญิง 2 คน แนะนำให้ฝ่ายชายเก็บ เพื่อแสดงความมีน้ำใจแก่ฝ่ายชายหญิง ซึ่งอาจจะลดข้อสงสัยแก่อาจารย์คุมสอบได้  ผู้ร่วมขบวนการต้องมีลายมือคล้ายๆกัน เพื่ออ้างว่าเห็นลายมือคล้ายๆกัน นึกว่าของตัวเอง

      3.รหัสมอส
       กลยุทธ์ การใช้คำพูดหันหน้าหันหลังอาจจะอันตรายเกินไปสำหรับบางสถานกาณ์ ให้ใช้รหัสมอสแทน โดยรหัสมอส หมายถึง การเคาะเพื่อให้สัญญาณ เช่น กระทืบเท้า เคาะโต๊ะ เป็นต้น โดยให้ผู้ต้องการลอกส่งรหัสมอสให้กับผู้ร่วมขบวนการ แล้วให้ผู้ร่วมขบวนการตอบกลับมาด้วยรหัสมอสเช่นกัน
       คำแนะนำ จะใช้ได้ดีในแบบกาเลือกเท่านั้น ถ้าแบบบรรยายหรือวิธีทำ อาจจะต้องใช้การส่งคำตอบนานเกินไปจนเป็นที่สังเกตได้  ควรนัดแนะการส่งรหัสกันให้ดี เพราะการให้สัญญาณขาดหรือเกินจะทำให้ผิดพลาดในการตอบคำตอบได้


      4.อโรคาพาให้รอด
       กลยุทธ์ การแกล้งป่วยจะช่วยพรางตาอาจารย์ได้ โดยอาการปวดหัว ให้ท่านกุมศรีษะ การกุมศรีษะด้วยมือจะพรางตาอาจรย์คุมสอบ ทำให้อาจารย์ไม่รู้ว่าเด็กจะรับโพยทางไหน หรือดูยากขึ้น ทำให้โอกาสลอกข้อสอบมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น

      5.ยุทธการหัวเห็ด
      กลยุทธ์ ผมเป็นสิ่งสำคัญต่อบุคลิกภาพของคนเรา โดยประโยชน์นอกจากนี้คือ พรางตาเช่นเดียวกับกลยุทธ์อโรคาพารอด เพียงใช้ผมของท่านที่มีอยู่มากำบังใบหน้า จนมิดจะทำให้อาจารย์คุมสอบจับจดไม่ถูกว่าท่านกำลังลอกโพยจากตำแหน่งไหนหรือ จับได้ยากขึ้น
       คำแนะนำ  ใช้กับนักเรียนชายไม่ได้เพราะผมยาวไม่พอ

       6.เรดาห์
       กลยุทธ์ เสียงระหว่างการส่งโพยกันและกัน และเสียงคำพูดหลังจากสอบเสร็จจะสำคัญมาก แต่มันจะมีประโยชน์อะไรล่ะ ถ้าท่านไม่ได้ยิน ให้ท่านกำมือมีช่องว่างเป็นรูปวงกลมไปทัดที่ใบหู มันจะช่วยเพิ่มความสามารถการได้ยินได้ดีขึ้น
       คำแนะนำ วิธีนี้สามารถใช้ดักฟังการส่งโพยของผู้อื่นได้

     7.One For All
     กลุยทธ์ แนะนำให้ใครคนหนึ่งที่ร่วมขบวนการหรือไม่ขบวนการก็ได้เตรียมส่งสัญญาณ ถ้าอาจารย์เข้ามาอยู่ในรัศมี  คำแนะนำ ใช้ได้ต่อเมื่ออาจารย์คุมสอบกลับมาจากทำธุระ

       8.โห่ร้องตะวันออก โจมตีตะวันตก
       กลยุทธ์ กลยุทธ์นี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ผลดีทีเดียวในสงครามจริง โดยวิธีการนี้ผู้ร่วมขบวนการควรอยู่คนละฟาก(ฟ้า)กัน ให้ผู้ร่วมขบวนการทำอาการให้เกิดเสียงดังจนอาจารย์คุมสอบต้องหันมาสนใจ ระหว่างที่อาจารย์กำลังสนใจอยู่ ให้ผู้ร่วมขบวนการที่เหลือใช้โพยอย่างรวดเร็ว
      คำแนะนำ  ผู้ร่วมขบวนการจะต้องให้สัญญาณให้ถูกจังหวะการใช้กลยุทธ์นี้
  
      9. SMS ข้อความสื่อรัก
      กลยุทธ์ ใช้ได้ดีพอสมควรโดยให้ผู้ร่วมขบวนการ มีโทรศัพท์มือถือติดตัวอยู่ แล้วให้ส่งข้อความ(โพย)สื่อสารกัน

       คำแนะนำ  ควรติดตั้งเป็นระบบสั่นก่อน  ควรฝึกความสามารถในการพิมพ์ให้เร็ว เพราะการก้มนานๆจะเป็นจุดสนใจได้

      10. ชักธงรบ
      กลยุทธ์ การชักธงในสนามสงครามหมายถึงการสั่งโจมตี โดยธงจะต้องมีความสูงพอสมควร เพื่อที่ให้ทหารทั้งหมดเห็น โดยให้ผู้ร่วมขบวนการยกข้อสอบขึ้นมาอ่านให้ลอยเหนือโต๊ะจนเหนือศรีษะทำมุม ฉากกับโต๊ะ ผู้ร่วมขบวนการที่เหลือจะสามารถมองข้ามไหล่มาอ่านคำตอบในใบข้อสอบได้
     คำแนะนำ ลายมือของคนเขียนจะต้องใหญ่พอสมควรและอ่านออกง่าย

     11. ชัยภูมิดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
     กลยุทธ์ การมีตำแหน่งที่ดีของห้องจะทำให้เราลอกได้สะดวกและใช้กลยุทธ์อื่นได้อย่างดีขึ้นด้วย เช่น
อยู่กลางห้อง จะสามารถลอกได้จากหลายทิศทาง หลายตัวเลือก หลายคน อยู่ติดเสา จะสามารถส่งโพยให้คนอื่นๆได้โดยขีดเขียนบนเสา ฯลฯ
      คำแนะนำ ควรศึกษาตำแหน่งทำเลที่ได้มาอย่างดี และนำมาใช้ประโยชน์อย่างให้ดีที่สุด

       12. ยิ่งใกล้เหมือนยิ่งไกล
       กลยุทธ์ ในการสอบปลายภาคนักเรียนบางคนโชคร้ายต้องไปนั่งหน้า ซึ่งทำให้เป็นที่รู้สึกว่าจะถูกจับตามองโดยง่ายจากอาจารย์ แต่ที่จริงแล้ว อาจารย์บางท่านจะไม่ค่อยดู เพราะคิดว่าอยู่ใกล้ขนาดนี้คงไม่มีใครกล้าโกงข้อสอบ การนั่งหน้าการโกงข้อสอบจะต้องใช้วิธีส่งคำพูดไม่ได้ จะเป็นที่สังเกตมากไป แต่ใช้ข้อความเขียนในกระดาษทดที่อาจารย์แจกมา แล้วมาตั้งตรงมุมอับจากสายตาอาจารย์พร้อมถามหรือตอบข้อสอบจากผู้ร่วมขบวนการ
       คำแนะนำ  ถ้าอยู่ติดกับโต๊ะอาจารย์จะโกงยากมาก ดังนั้นการใช้วิธีนี้ต้องให้อาจารย์ลุกไปก่อนแล้วค่อยใช้ ควรใช้กลยุทธ์ “รหัสมอส” ควบคู่กับกลยุทธ์นี้

       13. เผาถ่านก่อนหน้าฝน
       กลยุทธ์ เป็นสุภาษิตจีนสุภาษิตหนึ่งเพราะในหน้าฝนถ่านจะแพง ชาวจีนจึงมีการเตรียมการเผาถ่าน เตรียมไว้ใช้ในหน้าฝน ให้ผู้ปฏิบัติเตรียมการโกงก่อนวันจรืง โดยให้จดจำที่นั่งตนเองไว้แล้วหาโพยไปซ่อนหรือแปะไว้ที่โต๊ะ

       คำแนะนำ การลงน้ำยาลบคำผิดที่ขาโต๊ะหรือเก้าอี้จะไม่ค่อยเป็นที่สังเกต
การเขียนโพยบนโต๊ะต้องใช้ปากกาที่สีกลืนกันไปกับสีโต๊ะ เพื่อพรางตาอาจารย์คุมสอบ
การแปะโพยกระดาษต้องแปะ ในระดับที่อาจารย์เดินมาแล้วไม่เห็น 
       หัวใจของการโกงข้อสอบ คือใช้กลยุทธ์ทุกอย่างให้สอดคล้องและรวดเร็ว ให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ  และ อย่าคิดว่า อาจารย์จะไม่รู้เชียว และโทษสารพัดโทษ ท่านเอยไม่อยากจะเล่ากลัว
*******
ข้างห้องจาก http://www.roigoo.com

Wednesday, December 28, 2011

พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการและพุทธจริยา ๓ ประการ

พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ
และพุทธจริยา ๓ ประการ 
เป็นวิธีการสอนสุดยอด ของบรมครู

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต วาดโดยครูเหม เวชกร
      งานการสอนธรรม เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวงและอำนวยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้า จึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่าพุทธกิจ ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ และพุทธจริยา ๓ ประการ  ของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ


     พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ


     พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ
     พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
     พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค้ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย
     พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย
     พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น


     พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่าทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่าไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

     หลังจากที่บุคคลนั้น ๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าคือทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ? มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้นการแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์ จึงบังเกิดผล เป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย คือสามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

     พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์ ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้

     พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้ 

*******
กิ่งธรรมจาก http://www.dhammathai.org

Tuesday, December 27, 2011

“ฝันให้พอดีกับที่เราทำได้” ความสุขในงานแต่งเพลงของ ครูสลา คุณวุฒิ

ครูสลา “ฝันให้พอดีกับที่เราทำได้”
ความสุขในงานแต่งเพลงของ ครูสลา คุณวุฒิ

 
        ใครๆ ในวงการยกให้เป็น “นักแต่งเพลงมือทองสมองเพชร” ในฐานะที่เขียนเพลงลูกทุ่งได้โดนใจคนฟัง ดีและดังติดหูติดใจแฟนเพลง แต่ครูสลาออกตัวอย่างถ่อมตนว่า ถ้าจะให้คะแนนตัวเองก็คงเป็นคะแนนความขยันและการมีความสุขอยู่กับงาน และบอกว่าความจริงเพลงที่ ไม่ดังก็มาก มากกว่าเพลงดัง ๆ ด้วยซ้ำไป  เพียงแต่คนไม่รู้ คนฟังรู้จักแต่เพลงที่ดัง  แต่ด้วยความที่ครูสลาทำงานออกไปมาก จึงดูเหมือนว่า แต่งเพลงดังออกมาตลอดเวลา และนักร้องดังๆ ทุกคนต่างก็ร้องเพลงที่ครูสลาแต่ง

       ครูสลาพูดถึงการทำงานของตัวเองว่า “คนอาจมองว่าเราเหนื่อย เครียด แต่ผมไม่เหนื่อยเลยกับการอยู่กับเพลง หนังสือและการเขียน มันไม่ใช่ภาระแต่คือการพักผ่อน” ตั้งแต่เช้าของทุกวัน ครูสลาจะอยู่กับกาแฟถ้วยหนึ่ง แล้วนั่งเขียนเพลงไปจนจบหนึ่งเพลง ซึ่งอาจกินเวลา 30 นาที ไปจนถึง 8 ชั่วโมง  เพลงที่แต่งใหม่อาจจะจบหรือไม่จบ แต่ถึงบ่าย 2 โมง ครูจะเข้าห้องอัดเสียง ทำงานเพลงในส่วนของดนตรีกับ ทีมนักดนตรีหรือคุมการร้องของนักร้อง  ยาวไปจนถึงเย็น ค่ำ หรือเช้าของอีกวัน ตามแต่ความติดพันต่อเนื่องของงาน และไม่ว่าจะนอนดึก แค่ไหน ครูสลาจะยังคงตื่นเช้าเสมอ ซึ่งครูบอกว่าเป็นนิสัยที่ติดมาตั้งแต่เป็นครูประชาบาล ด้วยความขยันพากเพียรและทุ่มเทมาแต่ครั้งเป็น นักแต่งเพลงไร้ชื่อ เมื่อเริ่มหัดเขียนเพลงเมื่อ 20 กว่าปีก่อน จนกระทั่งมีชื่อเสียงไปทั่วฟ้าเมืองไทย  ครูเพลงบ้านป่าไม่เคยหลงลืมตัว แต่ยังคง ทำงานหนักอย่างบากบั่น

       “เรามีความสุขกับการได้อยู่ร่วมกัน ทำงานด้วยกัน ไม่ไปกินไปเที่ยวที่ไหน พอทำงานเสร็จมันเป็นเหมือนได้พักผ่อนไปในตัวแล้ว ไม่รู้สึกว่าเหนื่อย” ครูสลาพูดถึงเพื่อนร่วมงาน แล้วพูดถึงตัวเอง “ผมไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ไม่เป็น ไม่เสียเวลากับเรื่องอื่น  อย่างมากก็ไปดู แผงเทป แผงหนังสือ กินกาแฟกินลาบกับเพื่อน เรื่องเที่ยวเตร่นี่ไม่ต้องพูดถึงเลย เพราะอย่างไปเที่ยวคืนหนึ่งนี่ ล้าไป 3-4 วันนะ” จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันครูสลายังคงเขียนเพลงได้ทุกวัน วันละเพลง หรือน้อยกว่านั้นก็ไม่ต่ำกว่าวันละ 20 เพลง

        ครูเพลงชื่อดังแห่งยุคขยายความหมายของคำว่า ความสุขในการทำงานว่าเกิดขึ้นใน 3 ระดับ แรกสุด เมื่อเขียนเพลงของตัวเองจบลงได้ อย่างที่พอใจ เขียนได้อย่างที่คิดก็เกิดความสุขใจ ต่อมา เมื่อนักร้องเอาไปร้องแล้วช่วยให้เขาประสบความสำเร็จ นั่นเหมือนครูเพลง ได้ส่งศิษย์ให้ถึงฝั่งฝันและสุดท้าย คือเมื่อได้รางวัล ซึ่งครูสลาบอกว่ารางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การที่เพลงได้รับความนิยม นั่นถือเป็นรางวัลที่ มหาชนคนฟังเพลงเป็นผู้มอบให้

       ในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน ครูสลากล่าวว่าเท่าที่ผ่านชีวิตมาจนถึงวัยกลางคนพบว่าสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ที่สุด คือการใช้ชีวิตอย่างคน สามัญและการทำประโยชน์เพื่อคนอื่น “มองว่าถ้าเราทำอะไรให้แผ่นดินได้ก็ทำ ถ้าทำได้จะลงมือเลยไม่ต้องรอ  ที่ทำมาแล้วก็เช่น เราพอมีความถนัดในเรื่องการขีดเขียนบุกมาจนได้เป็นครูเพลง ก็ทำกองทุนศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ ขึ้นมา ทำค่ายจุดประกายความใฝ่ฝัน เพาะเมล็ดพันธุ์วรรณกรรมให้กับครูและนักเรียนตามโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศมา ตั้งแต่ปี 2548 ทำมาแล้วเกือบ 30 ค่าย เป็นวิทยาทานให้กับ คนรุ่นหลังที่อยากเป็นนักเขียน นักแต่งเพลง แต่ไม่รู้จะไปหาใคร 

       เราเอาประสบการณ์ เส้นทางความเป็นมาของเราไปเล่าให้เขาฟังในจังหวะที่เหมาะสม ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมได้” ครูเพลงบ้านป่าให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า เมื่อมีความฝันก็ควรจะเดินไปตามความฝัน แต่ถ้าไม่ได้ก็อย่าถึงกับลงโทษตัว เอง และอยาก ให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงาน หากไม่ได้อย่างที่ฝัน เช่นเดียวกับที่ครูสลาเองก็เคยอยากเป็นนักเขียนเมื่อตอนเป็นวัยรุ่นแต่กลับ ได้เป็นครู ก็มีความสุขกับการเป็นครูและมีความสุขกับการได้เขียนเพลงส่งไปตามค่ายเพลง ต่างๆ  แม้จะยังไม่ได้รับ การยอมรับแต่ถือว่าการเขียนเป็นการ ให้รางวัลหล่อเลี้ยงใจตนเองไปเรื่อยๆ “ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับคำว่าฝันให้ไกลไปให้ถึง แต่ผมมองว่าฝันให้พอดีกับที่เราทำได้ คำว่าฝัน ให้ไกลบางทีก็บั่นทอน และทำให้เราผิดหวังรุนแรง  บางคนเอาความฝันเป็นที่ตั้งโดยลืมถามว่าสิ่งนั้นเหมาะกับตัวเองหรือเปล่า พอไม่ได้อย่าง ที่ชอบก็ผิดหวัง”

       บนถนนของนักแต่งเพลงมืออาชีพ ครูสลาบอกว่าจิตใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ถ้าเมื่อใดที่รู้สึกว่าเราเก่งแล้ว นั่นแหละจะเริ่มต้น แต่ถ้ารู้สึกว่า เรายังไม่ใช่คนเก่งก็ต้องเติมต้องค้นคว้าและฟังคนอื่น “ถ้าทำได้อย่างนี้มันจะไปได้เรื่อย ๆ คนบนฟ้ารักคนนิสัยแบบนี้” ท้ายประโยคเหมือน ครูสลาจะเชื่อในเรื่องโชคชะตาฟ้าดินด้วย “บางทีเวลาแต่งเพลงได้ดั่งใจ จะรู้สึกว่าทำไมเราคิดคำนี้ได้ เหมือนเราเองก็ไม่ได้คาดคิดมาก่อน มันมาระหว่างทำงาน  เหมือนมีโชคช่วย” แต่คำว่าโชคนั้นครูสลาพูดย้ำว่าเป็นโชคที่เกิดจากการสั่งสมมาจากความรักการ อ่าน การเติมเต็ม ให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา

       ทุกวันนี้แม้จะอยู่ในฐานะครูเพลงชื่อดังคับฟ้าวงการลูกทุ่ง แต่ครูสลา คุณวุฒิ ยังคงดำรงตนอย่างเรียบง่ายและใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา “ให้อยู่กับหนังสือทั้งวันก็อยู่ได้  บางทีตอนเสพไม่ได้ตั้งใจว่าจะเอามาใช้ แต่วันหนึ่งผลจากความชอบเหล่านี้จะมาช่วยเรา”  
*******
ปลายปากกา จาก http://www.budnet.org

Monday, December 26, 2011

ครู เซราะกราว (บ้านนอก)

ครูเซราะกราว
เตีย ที่ดี


        ได้ฟังเดี่ยว 9 ของคุณโน้ต อุดม พูดเรื่องเซราะกราว  เซราะ แปลว่าบ้าน กราว แปลว่า นอก เป็นภาษาเขมรคือ คนบ้านนอก   ที่ใช้ในการสื่อสารกัน ที่บ่งบอกถึงมา คือ คนบ้านนอกและจะมีความเฉิ่มประกอบด้วย ไม่ได้หมายว่าโง่แต่ประการใด หมายถึงความไม่ทันสมัย ในมุมมองของคนเมือง
        มีหลายคำที่ คนเมืองนำมาพูด เช่น ซี บาย  ซี คือกิน บาย คือข้าว คำว่า ซี นั้น เป็นคำที่เราใช้สำหรับคนกันเอง เพื่อนฝูง แต่ถ้าเป็น แขก ผู้หลัก ผู้ใหญ่ ใช้คำว่า โฮบ บาย โฮบ คือ ทาน หรือรับประทาน 
        แล้วมีบางคำที่คนเมือง นำมาใช้กัน โดยเฉพาะในวงการ ตลก บางคำเป็นคำหยาบมาก ได้ฟังแล้วก็ได้แต่ปลง แต่ก็ผ่านการตรวจนำออกมาขายได้ ไม่รู้ใครเป็นคนตรวจ มีภูมิความรู้ดีจัง อยากเห็นหน้า
        พูดเรื่องบ้านนอก ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับครู คือเรื่อง ครูบ้านนอก เป็นงานเขียนของครู คำหมาน คนไค และนี้คือ เรื่องของภาพยนตร์
       ครูบ้านนอก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2521 เป็นภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับครูหนุ่ม สาวที่เพิ่งจบใหม่จากวิทยาลัยครู และเดินทางไปสอนหนังสือในถิ่นทุรกันดาร ขาดไฟฟ้า แหล่งน้ำ และการสาธารณสุข แสดงให้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่แบบเก่าของชาวชนบทในภาคอีสาน และปัญหาความขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น

ภาพยนตร์ถ่ายทำที่บ้านดอนเมย ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) ที่เป็นบ้านเกิดของคำหมาน คนไค เจ้าของบทประพันธ์  โดยสมมุติเป็น "บ้านหนองหมาว้อ" ใช้นักแสดงหน้าใหม่ทั้งหมด ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ ได้รายได้ถึง 9 ล้านบาท  ได้รับความชื่นชมจากนักวิจารณ์ และถูกนำไปฉายยังต่างประเทศ ได้รับรางวัลภาพยนตร์สร้างสรรค์ และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม จากประเทศรัสเซีย 

       อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2536 ครูบ้านนอก เคยได้มีการนำเอามาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ซึ่งออกอากาศไปเมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ถึง วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์, ปัญญา นิรันดร์กุล 

      ในปี พ.ศ. 2552 สุรสีห์ ผาธรรมได้นำภาพยนตร์กลับมาสร้างใหม่โดย สหมงคลฟิล์ม นำแสดงโดย พิเชษฐ์ กองการ ฟ้อนฟ้า ผาธรรม และหม่ำ จ๊กมก ออกฉายในวันครู 14 มกราคม พ.ศ. 2553  ใช้ชื่อภาพยนตร์ว่า ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่  ที่ได้นำเอาเด็กบ้านนอกร่วมแสดงด้วย เนื้อเรื่องเป็นอย่างนี้

       ในงานเลี้ยงส่งนักศึกษาในวิทยาลัยครูแห่งหนึ่ง ทุกคนสนุกสนานกับการสังสรรค์จากการจัดงานอำลาสถานบันจากวงดนตรีสมัยใหม่ ในขณะที่ ครูปิยะ เดินเลี่ยงออกจากงานมายืนชมนิทรรศการวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างสนใจ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตัดสินใจสอบบรรจุเป็นเพื่อรับราชการครูที่ภาคอีสาน 
        โดยบรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อ พร้อมกับ ครูดวงดาว หญิงสาวรูปร่างบอบเบา และ ครูพิสิษฐ์ ครูหนุ่มมาดสำอางค์ โดยมี ครูคำเม้า เป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อมีเพียงอาคารเรียนชั่วคราวชั้นเดียวพื้น ติดดิน นักเรียนต้องเรียนรวมกันโดยไม่มีการแบ่งกั่นห้องเป็นพื้นที่เป็นสัดส่วนใน แต่ละห้อง สภาพนักเรียนสวมเสื้อผ้าขาด ร่างกายมอมแมม ครูปิยะคือตัวแทนของหนุ่มสาวที่มีความมุ่งมั่นในอุดมการณ์เพื่อพัฒนาการ ศึกษาและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า มีการนำความรู้ภูมิปัญญาการเล่านิทานในท้องถิ่นของผู้เฒ่าแห่งหมู่บ้าน มาเป็นประยุกต์เป็นการสอนการท่องจำในชั้นเรียน 
        ในขณะที่ครูใหญ่คำเม้าครูรุ่นเก่าที่ทำหน้าที่สอนหนังสือโดยยึดหลักปรัชญา “เลข คัด เลิก” ส่วนครูพิสิษฐ์ครูหนุ่มเจ้าสำราญที่เคยใช้ชีวิตในสังคมเมืองที่ต้องจำใจ มาสอบบรรจุครู ต่อมาครูพิสิษฐ์มีคำสั่งให้ย้ายไปสอนในเมืองเพราะมีเรื่องชกต่อยกับเจ้า หน้าที่ที่มาตรวจราชการที่โรงเรียนลวนลามครูดวงดาว ครูปิยะได้เก็บความสงสัยไว้ในใจเกี่ยวกับรถขนไม้ที่วิ่งผ่านเข้ามาในหมู่ บ้าน เพราะครั้งหนึ่งเกิด 
        เหตุการณ์ท่อนซุงขนาดใหญ่หล่นจากรถบรรทุกตกลงมาในสนาม โรงเรียน ครูปิยะจึงพบว่าทั้งหมดเป็นไม้เถื่อน จึงแอบเข้าไปถ่ายรูปในปางไม้ของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นเพื่อส่งข่าวไปให้ หนังสือพิมพ์ จึงทำให้ครูปิยะต้องหนีภัยมืดออกจากบ้านหนองหมาว้อไปอาศัยอยู่กับหลวงตาอยู่ ในเมือง แต่ด้วยอุดมการณ์และจิตสำนึกของความเป็นครู 
       ครูปิยะจึงกลับคืนมาสอนที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองหมาว้ออีกครั้งท่ามกลาง การต้อนรับของครูและนักเรียน เพียงแต่ครูปิยะขี่จักรยานเข้าสู่รั้วโรงเรียนเท่านั้นมือปืนได้ยิงปืนโดน สู่ร่างของครูปิยะจนจักรยานล้มลงสู่พื้นดิน ท่ามกลางความตกตะลึงของครูและนักเรียน จนครูปิยะได้เสียชีวิต
 
 

                                                 ภาพยนตร์ ครูบ้านนอก

******* 
เรื่องและภาพประกอบจาก http://th.wikipedia.org

Thursday, December 22, 2011

ครู เหม เวชกร

 ครู เหม เวชกร
จากนิตยสาร สารคดี

 

       เหม เวชกร จิตรกรที่มีชื่อเสียงของไทย  เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม  พ.ศ.2446 ที่กรุงเทพฯ ในตระกูลขุนนางเก่า บิดาคือ หุ่น ทินกร ณ อยุธยา และมารดา ม.ล.สำริด พึ่งบุญ ณ อยุธยา หลังจากที่บิดามารดาแยกทางกัน เขาไปอยู่กับลุงคือ ม.ร.ว.แดง ทินกร ผู้ดูแลช่างอิตาเลียนที่มาก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เหมจึงพลอยได้ใกล้ชิดกับช่างชุดนี้ด้วย โดยเฉพาะ คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) หนึ่งในคณะจิตรกรผู้เขียนภาพพระราชประวัติบุรพกษัตริย์ ซึ่งได้กลายเป็นครูศิลปะคนแรกของเหม  หลังจากนั้นชีวิตก็ผกผันไปเป็นช่างเครื่องเรือโยง และช่างเครื่องในงานสร้างเขื่อนพระราม 6 ก่อนจะกลับเข้ากรุงเทพฯ เมื่ออายุราว 20 ปี มาเป็นช่างเขียนในกรมตำราทหารบก

ภาพวาดโดย ครูเหม เวชกร

       ต่อมาเขาร่วมกับเพื่อนตั้งสำนักพิมพ์ เพลินจิตต์ พิมพ์หนังสือนิยายเล่มละ 10 สตางค์ ปรากฏว่าขายดีมาก ด้วยมีภาพปกสีสันสวยงามฝีมือเหม เวชกร เล่มต่อมาก็ขายดีจนบางเล่มถึงกับพิมพ์ซ้ำเป็นหมื่นฉบับ
       เหมเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะนักวาดภาพปก ผลงานของเขาตีพิมพ์แพร่หลายไปทั่ว และได้รับความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวาง ราวปี 2478 เขาออกมาตั้งสำนักพิมพ์ของตัวเองชื่อ “คณะเหม” มีนักเขียนคนสำคัญเช่น ไม้ เมืองเดิม (ผู้ประพันธ์เรื่อง แผลเก่า)

ภาพเขียนเทคนิค สีน้ำมันโดยครูเหม เวชกร
        ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีของชีวิตช่างเขียน เหมผลิตผลงานหลายหมื่นชิ้น มีตั้งแต่ภาพปก ภาพประกอบ นิยายภาพ หนังสืออ่านเล่น หนังสือเรียน ไปจนถึงรูปพระพุทธประวัติที่พิมพ์ให้เช่าใส่กรอบติดตามวัด ในสายตาของ “ศิลปิน” เขาเป็นได้เพียงช่างเขียน “งานตลาด” แต่สำหรับสาธารณชนแล้ว เขาคือผู้กำหัวใจของ “ความงามอย่างไทย” ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฝีมือการวาดภาพของเขา เคยพระราชทานพระราชวโรกาส ให้ครูเหมเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับเขาไว้เป็นจิตรกร ในพระบรมราชานุเคราะห์ด้วย
         เหมยังคงทำงานหนักจนกระทั่งสิ้นชีวิต สามทศวรรษหลังมรณกรรมของเหม ภาพประกอบเล็ก ๆ ที่เคยทำเงินให้เขาได้แค่ไม่กี่ร้อยบาทถูกประมูลในราคาเหยียบแสน และได้รับการยกย่องขึ้นทำเนียบศิลปินชั้นครูของเมืองไทย
       เหม เวชกร ถึงแก่อสัญกรรม 17 เมษายน พ.ศ. 2497



วิดีทัศน์ รวบรวม ผลงานครูเหม เวชกร


*********
ปลายดินสอจาก http://www.sarakadee.com

Monday, December 19, 2011

นิทานเรื่อง จันทโครพ

นิทานเรื่อง จันทโครพ
  ใช้ประกอบการสอนในการ การรักษาวินัย
ภาพประกอบจาก http://www.oknation.net

      จันทโครพ เป็นเจ้าชายแห่งเมืองพาราณสี ได้ออกแสวงหาอาจารย์เพื่อรำเรียนวิชา แล้วได้เจอกับพระฤๅษี ได้ร่ำเรียนวิชาจากท่านจนสำเร็จ จึงได้เดินทางกลับบ้านเมืองของตน ก่อนที่จะออกเดินทางฤๅษีได้มอบผอบแก้ว ให้แล้วสั่งกำชับว่าห้ามเปิดจนกว่าจะถึงบ้านเมือง แต่จันทโครพได้เสียสัตย์แอบเปิดผอบนั้นเสียก่อน 
      ซึ่งในผอบมีนางโมราได้ปรากฏตัวออกมา จันทโครพก็ได้พานางโมราเดินทางต่อไปแต่ ระหว่างทางได้พบกับโจรป่า ซึ่งเห็นนางโมราเข้าจึงคิดแย่งชิง จันทโครพก็ถูกโจรป่าฆ่าตาย (นางโมราเห็นจันทโครพตาย ก็ย่อมไม่ได้ตำแหน่งอัครมเหสีจึงไปอยู่กับโจรป่า เพราะจันทโครพสัญญาว่าจะมอบตำแหน่งอัครมเหสีให้)
       แต่จันทโครพยังไม่ถึงความตายพระอินทร์จึงมาชุบชีวิตให้จันทโครพ แล้วบอกว่าเนื้อคู่ที่แท้จริงอยู่ทางทิศเหนือ แล้วพระอินทร์ก็สาปนางโมราให้เป็นชะนี (โจรป่าคิดว่าวันหนึ่งถ้านางโมราได้เจอคนอื่นที่ดีกว่าตน จะต้องทิ้งตนไปแน่ เพราะขนาดจันทโครพผู้ที่เป็นถึงองค์ชายนางยังทิ้งได้ ดังนั้นโจรป่าจึงหนีไป นางโมราจึงออกตามหาโจรป่า) จันทโครพได้เดินทางไปทางที่พระอินทร์บอก ก็พบถำหนึ่งที่มียักษ์คอยเฝ้าอยู่จันทโครพจึงคิดว่าในถ้ำนั้นมีเนื้อคู่ของ ตนอยู่จึงฆ่ายักษ์ตนนั้น แล้วเดินเข้าไปก็พบผู้หญิงคนหนึ่งชื่อนาง มุจลินทร์จึง อยู่กินกัน แล้วจันทโครพคิดถึงพ่อแม่จึงพานางมุจลินทร์หนี (ตอนนั้นนางมุจลินทร์ท้องอ่อนๆด้วย) แล้วเดินไปสักพักก็เหนี่อยแล้วเผลอหลับไปทั้งคู่ นางยักษ์จึงนำตัวนาง
มุจลินทร์ไปฟาดกับต้นไม้แล้วเหวี่ยงไปสุดแรง 
       จากนั้นก็ปลอมตัวเป็นนางมุจลินทร์ไปนอนข้างจันทโครพ เมื่อจันโครพเดินทางมาถึงเมืองก็ขอนอนพักผ่อน แล้วพอตอนกลางคืนนางยักษ์ก็ไปกินวัวของชาวบ้าน โดยหารู้ไม่ว่าเจ้าของวัวดูอยู่เจ้าของวัวจึงไปบอกพระราชา (พ่อของจันทโครพ) (นางยักษ์ได้นำเสื้อผ้าที่เลอะเลือดไปซ่อนไว้) แต่ตอนนั้นดึกมากแล้วจึงพูดกันพรุ่งนี้เช้า เมื่อเช้าแล้วจันทโครพได้ปลุกนางมุจลินทร์ปลอม โดยไม่บอกเรื่องคดีแปลกประหลาด 
       แต่นางยักษ์ไม่ได้นอนมาทั้งคืนเลยแสร้งบอกว่าไม่สบาย จันทโครพออกมาเข้าเฝ้าคนเดียว แล้วพระโหราธิบดีก็ตรวจดูดวงให้จันทโครพแล้วบอกว่าพรุ่งนี้ให้จันทโครพพานาง มุจลินทร์มาด้วย 
       พอวันรุ่งขึ้นพระโหราธิบดีถามนางมุจลินทร์เกี่ยวกับเวลาที่เกิด แต่นางยักษ์ไม่รู้จึงบอกวันผิดๆไปพระโหราจึงบอกว่า บัดนี้ความจริงเปิดเผยแล้วเจ้าไม่ใช่คนแต่เจ้าเป็นนางยักษ์ นางยักษ์หน้าถอดสี จันทโครพจึงฆ่านางยักษ์ตายแล้วออกตามหานางมุจลินทร์จนพบ และตอนนั้นนางมุจลินทร์ได้คลอดบุตรชายชื่อจันทวงศ์ทั้งสามจึงอยู่กันอย่างมี ความสุข

ละครเรื่อง จันทโครพ แสดงโดย อาจารย์เสรี หวังในธรรม


*******
กล่องนิทานจาก http://th.wikipedia.org

นำนิทาน ปลูกฝังคุณธรรมนักเรียน

          นิทาน กับการปลูกฝังคุณธรรมนักเรียน

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
        กระทรวงศึกษากำหนดคุณธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียน นักศึกษา รวม 8 ประการ ประกอบด้วย 1.มีวินัย 2.มีน้ำใจ 3.ซื่อสัตย์ 4.ขยัน 5.ประหยัด 6.สุภาพ 7.สะอาด และ 8.สามัคคี นอกจากนี้ ยังให้มีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันความเสี่ยง รวมเป็นคุณธรรม 11 ประการ และ ได้จัดทำโครงการสร้างเสริมคุณธรรมโดยยึดแนวทางหลัก 4 ประการ คือ  
        1) สร้างสังคมสมานฉันท์ ให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้
        2) อยู่อย่างสันติวิธี มีความสุขเอื้ออาทร
        3) ปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตย เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
        4) ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้ชีวิตที่สมดุล
        ในการจัดการเรืียนรู้ให้นักเรียนรู้จัก และสมารถนำไปใช้ในขีวิตได้นั้น เป็นหน้าที่ของครูที่คิดวางแผนในการอบรมสั่งสอนสร้างเสริมคุณธรรมด้วยนิทานจึงได้เกิดขึ้น และการนำนิทานก่อนนำเข้าสู่บทเรียนเป็นหนทางหนึ่ง โ เพราะนิทานเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดมาแต่โบราณ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพาเด็กไปสู่โลกกว้างของการเรียนรู้ชีวิตจริง เป็นตัวบ่มเพาะทางศีลธรรม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นต้นแบบที่ดีงามตามวิธีคิดแบบไทยๆ จนทำให้เกิดการค้นหา 80 นิทาน สร้างสรรค์คุณธรรม โดยมุ่งหวังว่านิทานจะคืนคุณธรรมให้แก่แผ่นดิน

          
คณะกรรมการ ได้คัดสรรจากนิทานที่มีคุณสมบัติในอันที่จะสร้างความประทับใจและกินใจ ให้เด็กเกิดความรู้สึกอยากปฏิบัติตาม จึงถือเป็นสายพานแห่งคุณธรรมตามที่ต้องการ และต่อไปนี้คือตัวอย่างนิทาน 11 เรื่องที่ผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งตรงกับการสร้างคุณธรรม 11 ประการดังกล่าว มีนิทานเรื่องไหนบ้าง

           1. คติธรรม การรักษาวินัย จากนิทาน *เรื่องจันทโครพ* : จัน ทโครพเจ้าชายเมืองพาราณสีออกแสวงหาพระอาจารย์ และได้เรียนรู้จนสำเร็จวิชาอันแกร่งกล้า จึงเดินทางกลับเมือง ในระหว่างทางพระองค์ได้เปิดผอบที่พระอาจารย์มอบให้นำกลับเมืองและกำชับให้ เปิดเมื่อถึงเมืองแล้ว แต่จันทโครพไม่รักษาวินัย รักษาคำมั่นที่ให้ไว้ เมื่อผอบเปิดจันทโครพได้พบกับนางโมราสาวงาม ซึ่งเป็นต้นเหตุให้พระองค์ต้องตายเพราะมือโจรในที่สุด
*คติเตือนใจคือ* ควรรู้จักยับยั้งความอยากรู้อยากเห็น มีวินัยต่อตนเอง ช่วยไม่ให้เกิดภัยพิบัติได้

           2. คติธรรม ความมีน้ำใจ จากนิทาน *เรื่องชาวนากับงูเห่า* : ใน เช้าของฤดูหนาววันหนึ่ง ชาวนาผู้หนึ่งเดินออกจากบ้านไปทุ่งนา ระหว่างทางเห็นงูเห่าตัวหนึ่งนอนขดตัวอยู่ เกิดความรู้สึกสงสาร จึงเก็บงูตัวนั้นมากอดไว้ในอ้อมแขน เมื่องูรู้สึกอบอุ่นก็เคลื่อนไหวและฉกกัดชาวนาด้วยเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ชาวนาจึงสิ้นใจตาย *คติเตือนใจคือ* ความมีน้ำใจเป็นสิ่งดี หากทำคุณกับคนชั่วมีแต่จะได้รับความเดือดร้อน
           3. คติธรรม ความซื่อสัตย์ จากนิทาน *เรื่องคนตัดไม้กับเทพารักษ์* : คน ตัดไม้คนหนึ่งนั่งร้องไห้ อยู่ริมลำธาร เพราะทำขวานของตนเองตกลงไปในน้ำ เทพารักษ์สงสารจึงปรากฏกายช่วยเหลือ โดยครั้งแรกงมขวานทองคำ ครั้งที่สองงมขวานเงินขึ้นมาให้ คนตัดไม้นั้นเป็นคนซื่อสัตย์จึงปฏิเสธว่า ไม่ใช่ขวานของตน จนเทพารักษ์งมขวานเหล็กขึ้นมา เขาจึงยอมรับ เทพารักษ์ตอบแทนความซื่อสัตย์ด้วยการมอบขวานทองคำและเงินให้ด้วย เพื่อนบ้านคนหนึ่งทราบเรื่อง เกิดความละโมบ จึงไปที่ลำธารและทำขวานหล่น แต่ด้วยความไม่ซื่อสัตย์ ทำให้เขาไม่ได้ขวานคืนแม้กระทั่งขวานของตนเอง *คติเตือนใจคือ* จงซื่อสัตย์และจงพอใจในสิ่งที่เป็นของตน ไม่โลภมาก

           4. คติธรรม ความขยัน จากนิทาน *เรื่องขุมทรัพย์ในไร่องุ่น* : ที่ไร่องุ่นแห่งหนึ่ง มีพ่อผู้สูงอายุกับลูกชายจอมขี้เกียจ 3 คนอาศัยอยู่ ต่อมาพ่อล้มป่วยลงและก่อนที่แกใกล้จะสิ้นลมหายใจ ได้เรียกลูกชายทั้ง 3 มา สั่งเสียว่า อย่าขายที่ดิน เพราะพ่อได้ซ่อนขุมทรัพย์มหาศาลเอาไว้ ให้ขุดดินพรวนดิน ขุดหาให้ทั่วทุกตารางนิ้วของไร่ เมื่อพ่อได้สิ้นใจตายลงไปแล้ว ลูกชายทั้ง 3 ก็ลงมือ และตั้งหน้าตั้งตาไถคราดพรวนดิน พวกเขาก็ไม่พบแม้แต่เศษเงินอย่างที่พ่อได้บอกไว้ หนึ่งปีผ่านไปไร่องุ่นที่พวกเข้าตั้งหน้าตั้งตาขุดพรวนดินเพื่อหาขุมทรัพย์ นั้นกลับเกิดผล ออกดอกออกผลออกมา และเมื่อเป็นเช่นนั้นลูกชายทั้ง 3 จึง หันมาช่วยกันนำผลองุ่นเหล่านั้นออกขาย และพวกเขารู้ว่าขุมทรัพย์ที่พ่อพูดถึงนั้น หมายถึงการทำงานหนัก ขยันขันแข็ง เอาหยาดเหงื่อแรงงานเข้าแลกในที่ดินที่พ่อของพวกเขาได้ทิ้งไว้ให้มากกว่า นั่นเอง
*คติเตือนใจคือ* ความขยันทำให้ทำงานสำเร็จ
           5. คติธรรม การประหยัด จากนิทาน *เรื่องคนขี้เหนียวกับทองคำ* : เศรษฐี คนหนึ่งเป็นคนขี้เหนียว เขามักนำทรัพย์สมบัติฝังดินไว้รอบบ้าน ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยความกลัวคนขโมย ต่อมาเขาจึงได้นำทรัพย์สมบัติไปขายแล้วซื้อเป็นทองคำได้หนึ่งแท่ง นำมาฝังไว้หลังบ้าน เฝ้าดูทุกวัน คนใช้เห็นจึงแอบดูและขโมยไป เศรษฐีต้องเสียใจเพราะเสียทรัพย์ที่ตนเก็บเอาไว้ *คติเตือนใจคือ* การมีทรัพย์และประหยัดออมทรัพย์เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องรู้จักประมาณการใช้ทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ด้วย

           6. คติธรรม ความสุภาพ จากนิทาน *เรื่องพิกุลทอง* : หญิงหม้ายคนหนึ่งมีลูกสาว 2 คน คนโตชื่อ มะลิ คนที่สองชื่อพิกุล หญิงหม้ายนั้นรักมะลิมาก เพราะมีรูปร่างหน้าตาและนิสัยเหมือนนาง ส่วนพิกุลเป็นหญิงสาวที่มีหน้าตาสะสวย กิริยามารยาทดี พูดจาไพเราะและน้ำใจงาม พิกุลต้องทำงานหนักเนื่องจากความลำเอียงของมารดา แต่ด้วยความมีน้ำใจต่อคนอื่น ทำให้พิกุลได้รับพรจากรุกขเทวดาให้มีดอกพิกุลทองร่วงออกมาจากปากทุกครั้งที่ พูด หญิงหม้ายมีความละโมบได้บีบคั้นให้พิกุลทองพูดเพื่อเอาทองคำ และให้มะลิไปขอพรรุกขเทวดา แต่มะลิมีนิสัยหยาบช้าจึงได้รับผลตรงกันข้ามกับพิกุล พิกุลถูกมารดาทำร้ายต้องหนีออกจากบ้าน ได้พบกับเจ้าชายรูปงามและครองคู่กันต่อมาอย่างมีความสุข *คติเตือนใจคือ* ความมีน้ำใจและความสุภาพเป็นเครื่องผูกมิตรต่อผู้อื่น


           7. คติธรรม ความสะอาด จากนิทาน *เรื่องนางอุทัยเทวี* : อุทัย เทวีเป็นธิดาของรุกขเทวดาและนางนาค นางต้องพลัดมาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงปกป้องตนเองด้วยการอาศัยอยู่ในร่างของคางคก ต่อมาตายายได้มาพบ นางจึงขอไปอาศัยอยู่ด้วย อุทัยเทวีช่วยเหลือตอบแทนตายายที่เลี้ยงดูตนเองโดยออกมาจากร่างคางคก และทำงานต่างๆ ในบ้าน จนบ้านเรือนสะอาดเรียบร้อย อุทัยเทวีเติบโตเป็นสาวสวยงาม เจ้าชายสุทราชกุมารได้พบกับนางก็หลงรัก และให้พระราชบิดามาสู่ขอ ตายายได้ขอให้สร้างสะพานทองจากพระราชวังมาถึงบ้าน ทำให้พระราชากริ้วมากและตรัสให้ตายายสร้างปราสาทหลังใหญ่ให้เสร็จภายใน 7 วัน เช่นกัน อุทัยเทวีได้เนรมิตปราสาทและเจ้าชายได้ตั้งจิตอธิษฐานขอสะพานทองจากเทวดา ในที่สุดทุกอย่างก็จบลงด้วยความสุข
*คติเตือนใจคือ* การประพฤติตนเป็นคนดี ขยัน กตัญญูส่งผลให้ได้รับผลบุญที่ดี

           8. คติธรรม ความสามัคคี จากนิทาน *เรื่องนกกระจาบ* : นก กระจาบฝูงหนึ่งถูกนายพรานใช้ตาข่ายจับไป หัวหน้านกกระจาบและนกที่เหลือได้หาวิธีเพื่อให้รอดพ้นจากตาข่าย เมื่อฝูงนกถูกนายพรานดักจับ ได้ใช้กลวิธีความสามัคคี ทำให้รอดพ้นจากตาข่ายนายพรานได้อย่างปลอดภัย *คติเตือนใจคือ* คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนกลับบ้านได้
           9. คติธรรม ความพอประมาณ จากนิทาน *เรื่องหมากับเงา* : หมา หิวโซตัวหนึ่งแย่งก้อนเนื้อชิ้นหนึ่งมาจากหมาซึ่งตัวเล็กกว่า มันคาบก้อนเนื้อนั้นมาถึงลำธารแห่งหนึ่ง ขณะที่มันเดินข้ามสะพานมองลงไปในน้ำก็เห็นเงาของหมาตัวใหญ่ตัวหนึ่งคาบก้อน เนื้อขนาดใหญ่ไว้ในปาก จึงเกิดความโลภคายก้อนเนื้อและกระโดดลงไปในน้ำหมายจะแย่งเนื้อจากหมาที่เห็น ในน้ำซึ่งใหญ่กว่า ผลที่สุดหมาตัวนี้ก็ต้องอดโซต่อไป *คติเตือนใจคือ* จงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ โลภมากลาภหาย

           10. คติธรรม ความมีเหตุผล จากนิทาน *เรื่องสังข์ทอง* : รจนา เป็นธิดาองค์สุดท้องในจำนวนพระธิดาเจ็ดองค์ของท้าวสามล พระธิดาหกองค์ได้เลือกคู่ครองที่เป็นเจ้าชายเหมาะสมกับแต่ละคนแล้ว แต่รจนากลับมองเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะรูปชั่วตัวดำ จึงเลือกเจ้าเงาะด้วยเหุตผลเป็นคนดี ท้าวสามลกริ้วมากจึงขับไล่ให้นางรจนาไปอยู่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ พระอินทร์ได้แปลงกายมาประลองตีคลีเอาเมืองกับท้าวสามล เขยทั้งหกไม่สามารถสู้รบกับพระอินทร์ เจ้าเงาะต้องถูกเกณฑ์ไปและมีชัยชนะ ทุกคนจึงได้ทราบความจริงว่า เงาะรูปชั่วตัวดำคือเจ้าชายสังข์ทอง *คติเตือนใจคือ* อย่ามองผู้อื่นหรือตัดสินผู้อื่นแต่เพียงภายนอก จงตริตรองด้วยเหตุผล


           11. คติธรรม มีภูมิคุ้มกันความเสี่ยง จากนิทาน *เรื่องมดง่ามกับจักจั่น* : ใน ฤดูฝน จักจั่นผอมโซเพราะเกียจคร้านตัวหนึ่งมาขออาหารมดง่าม ซึ่งขยันขันแข็งเก็บสะสมอาหารที่หาไว้ในช่วงฤดูร้อน จักจั่นตัวนั้นนอกจากไม่ได้อาหารจากมดง่ามแล้วยังถูกตำหนิว่ากล่าวให้อับอาย อีกด้วย *คติเตือนใจคือ* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต

           คุณครูหรือพ่อแม่สามารถนำนิทานเล่านี้ไปเล่าประกอบการปลูกฝังคุณธรรมได้ครับ
*******
กล่องนิทาน http://www.oknation.net

Friday, December 16, 2011

ลูกศิษย์สอนอาจารย์

นิทานชาดกเรื่อง 
 ลูกศิษย์สอนอาจารย์

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
      ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพระสารีบุตรผู้ให้ศีลแก่ทุกคนที่ตนพบเห็น แต่ไม่ค่อยมีคนรักษาศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... 
       กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์เมืองพาราณสี มีชื่อว่า การันทิยะ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มแล้วได้ไปศึกษา ศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา ได้เป็นหัวหน้าคณะศิษย์อาจารย์ของเขาได้ ให้ศีลแก่คนพบเห็นทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวประมงชาวนา ผู้ไม่ขอศีลเลยว่า "ท่านทั้งหลายจงรับศีล รักษาศีลนะ" ปรากฏว่าคนเหล่านั้นรับศีล เมื่ออาจารย์ทราบเรื่องแล้วก็มักบ่นให้ลูกศิษย์ฟังอยู่เป็นประจำว่า  "อ้ายพวกนี้ ไม่รู้จักทำคุณงามความดี รับศีลไปแล้วก็ไม่รู้จักรักษา"
       อยู่มาวันหนึ่ง มีชาวบ้านแห่งหนึ่งมาเชิญให้ไปสวดพิธีพราหมณ์ อาจารย์จึงเรียกการรันทิยะมาพบแล้วมอบให้เป็นหัวหน้าคณะไปแทนตน และกล่าวกำชับว่า "การันทิยะ ฉันจะไม่ไปนะ มอบให้เธอเป็นหัวหน้าพากันไป แต่อย่าลืมนำส่วนของฉันมาด้วยละ"
       เมื่อการันทิยะพาคณะไปแล้วขากลับมาได้พากันนั่งพักผ่อนอยู่ข้างเขาลูกหนึ่งใกล้สำนักเรียน เขาคิดหาวิธีที่จะเตือนสติอาจารย์ให้เลิกให้ศีลคนทั่วไป ให้รู้จักให้ศีลแก่ผู้ที่ขอเท่านั้น เดินไปเห็นซอกเขา ฉุกคิดขึ้นมาได้ จึงจับก้อนหินโยนลงไปที่ซอกเขานั้นพวกศิษย์คนอื่น ๆ ถามว่าทำอะไร ก็ไม่ยอมบอก  พวกลูกศิษย์จึงพากันกลับสำนักเรียนไปบอกอาจารย์
       อาจารย์พอมาถึงก็ถามขึ้นว่า "การันทิยะ จะมีประโยชน์อะไรกับการทิ้งก้อนหินลงไปในซอกเขานี้ เจ้าทำไปทำไม" การันทิยะตอบว่า "ผมจักทำแผ่นดินให้เรียบเสมอกันดังฝ่ามือครับอาจารย์"
อาจารย์ "ท่านคนเดียวย่อมไม่สามารถถมหุบเหวให้เต็มทำแผ่นดินให้ราบเรียนได้หรอก เกรงว่าท่านตายไปก็ยังทำไม่ได้"
       การันทิยะ "ถ้าผมคนเดียวไม่สามารถทำแผ่นดินให้ราบเรียนเสมอกันได้ อาจารย์ก็ไม่สามารถนำมนุษย์ผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันให้มีศีลธรรมเสมอกันได้เช่นกันนะ ขอรับ"
       อาจารย์ได้ฟังแล้วกลับได้สติรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
       "การันทิยะ เจ้าได้บอกความจริงแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด เราก็ไม่อาจทำมนุษย์ทั้งหลายให้มาอยู่ในอำนาจของเราได้ฉันนั้น"
        นับตั้งแต่วันนั้น อาจารย์ก็เลิกให้ศีลแก่ผู้ไม่ขอศีล ให้เฉพาะผู้ที่ขอเท่านั้น
*******
ปลายชอร์กจาก http://www.dhammathai.org

Thursday, December 15, 2011

ปีใหม่ ต้องดีกว่าปีเก่า

ปีใหม่
แด่คุณครู ครับ 
   
    ปีใหม่ ต้อง ดีกว่าปีเก่า เป็นโปสการ์ด ที่ท่านพุทธทาสได้พิมพ์ดีดไว้อย่างสวยงาม เพื่อเป็นเตือนใจสำหรับเราชาวพุทธ มีปีใหม่อย่างไร ถึงจะเรียกว่า ปีใหม่ มิฉะนั้นท่านก็ว่าเป็นปีเก่า ตลอดไป ไม่ถึงปีใหม่สักที
     โดยเฉพาะ ปี่ใหม่ที่จะถึงนี้  ให้คุณครูทุกท่านใหม่ด้วยการ สว่างกว่า สะอาดกว่า และสงบกว่า ครับ


*******
     กิ่งธรรมจาก http://www.buddhadasa.org

Tuesday, December 13, 2011

นิโคลัส เบนเนตต์ ครูผู้สอนวิชาชีวิต แก่พระไพศาล วิสาโล

รำลึกถึง นิโคลัส เบนเนตต์ ครูผู้สอนถึงชีวิต การต่อสู้ และอหิงสธรรม
โดย  พระไพศาล วิสาโล 

       ย้อน หลังไปเมื่อ 3 ทศวรรษก่อน ในช่วงที่อาตมาแทบไม่ได้เข้าห้องเรียนเลย (ตลอด 4 ปีครึ่งในมหาวิทยาลัย มีสมุดจดคำบรรยายเพียงเล่มเดียวสำหรับทุกวิชาที่เข้าเรียน) มีบุคคลผู้หนึ่งที่อาตมานับถือว่าเป็นครูได้อย่างสนิทใจ บุคคลผู้นั้นคือ นิโคลัส เบนเนตต์

       นิโคลัส เบนเนตต์ เป็นชาวอังกฤษ มาเมืองไทยตั้งแต่ปี 2513 ในฐานะที่ปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่อายุเพียง 28  ปี ในชั่วเวลาไม่ถึง 2 ปี เขาได้รับการยกย่องในหมู่นักวิชาการและนักศึกษาหัวก้าวหน้าว่าเป็นผู้ที่มี ความคิดเฉียบคมด้านการศึกษา งานเขียนของเขาหลายชิ้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของปัญญาชนหลายฉบับ เช่น ปาจารยสาร ศูนย์ศึกษาวิทยาสาร

ช่วง นี้เองที่อาตมาได้รู้จักนิโคลัส ผ่านงานเขียนดังกล่าว โดยเข้าใจไปว่าเขาทำงานในต่างประเทศ เขาเขียนหนังสือได้น่าอ่าน ชัดเจน เป็นรูปธรรม และวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาไทยอย่างตรงไปตรงมา แต่ก็เสนอทางออกที่น่าสนใจ

       อาตมา รู้ในเวลาต่อมาว่าเขาเป็นผู้ที่นิยมสันติวิธี และมีความรู้ในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง แต่ไม่เคยคิดว่าจะได้มาทำงานกับเขาจนกระทั่งหลัง 6 ตุลา ฯ ตอนนั้นมีนักศึกษาประชาชนกว่าสามพันคนถูกจับด้วยข้อหาร้ายแรงจากเหตุการณ์ นองเลือดที่ธรรมศาสตร์ อีกทั้งยังมีการกวาดล้างคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างจากรัฐบาลอีกหลาย พันคนทั่วประเทศ ขณะที่อีกหลายพันหนีเข้าป่าเพื่อจับอาวุธสู้กับรัฐบาล

อาตมา กับเพื่อนหลายคนทั้งพระและฆราวาสซึ่งห่วงใยในบ้านเมืองว่าจะลุกเป็นไฟหนัก ขึ้น จึงได้ช่วยกันฟื้นฟูกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม (ซึ่งตั้งในปี 1๙ แต่ก็เหมือนยุบไปหลัง 6 ตุลา ฯ) โดยได้รับความสนับสนุนจากผู้ใหญ่หลายท่านทั้งในวงการศาสนาและสิทธิมนุษยชน (เช่น สังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ อ.โกศล ศรีสังข์ และอ.โคทม อารียา) ทั้งนี้โดยเน้นหนักการรณรงค์เพื่อนิรโทษกรรมนักโทษ 6 ตุลา ฯ การปกป้องสิทธิมนุษยชน และการสมานไมตรีภายในชาติ

       พี่ ประชา หุตานุวัตร ซึ่งตอนนั้นบวชพระอยู่ (ขณะที่อาตมายังเป็นนักศึกษาปี 2) รู้จักกับนิโคลัสดี ได้ชักชวนนิโคลัสให้มาเป็นกรรมการกศส. ด้วย นิโคลัสไม่ได้เป็นกรรมการแต่ในนาม แต่ยังเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานกศส. ซึ่งมีอาตมาเป็นหนึ่งในนั้น พวกเราทำงานกันเต็มเวลาก็ว่าได้โดยอาศัยบ้านพักของนิโคลัสเป็นที่ประชุมทุก อาทิตย์ (ขณะที่สำนักงานตั้งอยู่ที่ถ.ประมวญ) ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การติดตามสอดส่องจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างใกล้ชิด

       ช่วง นี้เองที่อาตมาได้เรียนรู้จากนิโคลัสหลายอย่าง ทั้งในด้านชีวิตและการทำงาน นิโคลัสเป็นคนที่ฉลาดมาก จับประเด็นเร็ว คิดชัดมาก (อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เคยกล่าวว่าเท่าที่รู้จักคนมามากมาย ในเมืองไทยมีคนที่หลักแหลมจับประเด็นไวเพียง 3 คน คือ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ และนิโคลัส) แต่ในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นคนที่สุภาพ อ่อนโยน มีเมตตา แถมยังมีความกล้าอย่างมาก คนที่จะมีคุณสมบัติพร้อมทั้ง 3 ประการ (ฉลาด สุภาพ และกล้าหาญ)อย่างเขานั้นหาน้อยมาก

         นิโคลัสเป็น ที่ปรึกษารัฐบาล แต่เขาไม่เคยกลัวตกงาน ความที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสันติวิธีในอังกฤษบ้านเกิด เขาจึงเป็นเสมือนมันสมองให้กับพวกเราในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นธรรมดาที่ต้องคัดง้างกับรัฐ ตลอด 3 ปีที่เราทำงานภายใต้รัฐบาลเผด็จการและกึ่งเผด็จการ พวกเรามีโอกาสติดคุกตลอดเวลา เช่นเดียวกับนิโคลัสที่มีโอกาสถูกไล่ออกนอกประเทศ แต่การได้อยู่ใกล้ชิดกับนิโคลัส ทำให้พวกเรากล้าที่จะทำงานเสี่ยงคุกตะราง

       นิโคลัสอายุมากกว่าอาตมา 15 ปี แต่เขาปฏิบัติกับพวกเราเหมือนเพื่อนยิ่งกว่า ?ผู้ใหญ่?อีกทั้งยังรับฟังความคิดของเรา และพร้อมรับคำติติง เขาจึงเป็นเสมือนครูที่ส่งเสริมให้พวกเรากล้าคิดกล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันมีอุบายในการกระตุ้นให้เราเอาชนะความกลัว เขาพยายามผลักดันให้เราก้าวไปให้ไกลที่สุดจนกว่าจะถึงขีดจำกัดของตัวเอง ซึ่งทำให้พวกเราได้รู้จักตัวเองมากขึ้น จะว่าไปแล้วสถานการณ์บ้านเมืองตอนนั้นก็เป็นใจ แม้ความกดดันจะมีมากแต่มันก็ได้รีดเค้นเอาส่วนที่ดี ๆ ของเราออกมามิใช่น้อย โดยเฉพาะการคิดถึงส่วนรวมมากกว่าตัวเอง พวกเราหลายคนไม่กลัวติดคุกเพราะรู้สึกว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ ผู้อื่นได้ประสบ

       อีก อย่างหนึ่งที่อาตมาได้เรียนจากนิโคลัสคือ อหิงสธรรม แม้เขาจะเป็นนักยุทธวิธีด้านสันติวิธีตัวฉกาจ แต่วิถีชีวิตของเขาก็เป็นไปในทางสันติด้วย เขาใช้ชีวิตอย่างสมถะ ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ จริงใจ และยุติธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ เขาเป็นคนที่เห็นใจเพื่อนมนุษย์มาก (แต่ก็ไม่ใจอ่อนจนตามใจเขา)

        เมื่อ สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น ปี 22 นิโคลัสได้ย้ายไปทำงานที่ประเทศเนปาล ที่นั่นเขาได้สร้างคนรุ่นใหม่หลายคน เขาพาคนเหล่านี้ขึ้นเขาไปตามหมู่บ้านกันดารเพื่อช่วยพัฒนาการศึกษาควบคู่กับ การสร้างจิตสำนึก เขาไม่เหมือน ?ผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตก?ทั่วไป เพราะเขาไม่ชอบนั่งวางแผนในห้องแอร์ แต่จะต้องลงพื้นที่และไปอยู่กินกับชาวบ้าน เขาเป็นคนที่อดทนและแข็งแรง สามารถเดินข้ามเขาเป็นลูก ๆ เป็นเวลาหลายวัน พร้อมกับพาเจ้าหน้าที่พื้นเมืองไปด้วย ทราบว่าหลายคนต่อมาได้เป็นแกนนำในขบวนการต่อต้านรัฐบาลเนปาล

       นิโคลัส ย้ายไปทำงานให้กับธนาคารโลก แต่เป็นเสมือน  ขบถ ที่นั่น เพราะไม่ชอบอยู่วอชิงตัน แต่ลงไปทำงานในอาฟริกาหลายประเทศ และใช้ชีวิตแบบติดดินชนิดหัวหกตีนขวิดอยู่หลายปี จนกระทั่งเริ่มมีอาการเจ็บป่วยทางประสาทกล้ามเนื้อที่เป็นกรรมพันธุ์ พี่ชายเขาตายด้วยโรคนี้หลังจากล้มป่วยไม่นาน แต่นิโคลัสได้ประคองรักษาตัวจนสามารถอยู่ได้นานเกือบ 10 ปี

       นิโคลัส เป็นคนที่ถือพุทธ เป็นผู้หนึ่งที่ทำให้อาตมาศรัทธามั่นคงในพระศาสนาและภูมิปัญญาตะวันออก รวมทั้งสันติวิธี ภรรยาของเขาคือมองตาเน็ตก็เป็นครูโยคะคนแรกของอาตมาตั้งแต่ปี 18

        แม้ เขาไม่ค่อยสนใจประเพณีพิธีกรรมและการภาวนาในรูปแบบ แต่เขาก็เป็นชาวพุทธที่แท้ที่มั่นคงในหลักการ เขาเตรียมพร้อมรับมือความตายอยู่ทุกขณะ เขามีอาการหนักจนโคม่าเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ และสิ้นลมเมื่อตี 2 ของวันถัดมา สิริรวมอายุได้ 68 ปี

          ในหนังสือเรื่อง  สร้างสันติด้วยมือเราที่อาตมาเขียนตั้งแต่ปี 2532 ได้เขียนคำอุทิศว่า
แด่ นิโคลัส เบนเนตต์ ครูผู้สอนถึงชีวิต การต่อสู้ และอหิงสธรรม? แม้จนวันนี้อาตมาก็ยังซาบซึ้งในบุญคุณของครูผู้นี้ และจะระลึกถึงตราบชีวิตจะหาไม่
******
ปลายชอร์กจาก http://www.snf.or.th
  

ครู กรุณา กุศลาสัย

  ครูกรุณา กุศลาสัย    


เขียนโดย มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
 
 
        เด็กชายกิมฮง  แซ่โค้ว เกิดบนเรือกระแชงที่จอดลอยอยู่ในแควใหญ่ หน้าวัดตะแบก ปากน้ำโพ เตี่ยและแม่เป็นพ่อค้าชาวจีนมีฐานะ แต่โชคร้ายที่ครอบครัวโดนมรสุมชีวิต เตี่ยต้องติดคุกจนถึงตายโดยไม่ใช่การกระทำของตนเองเลย หลังจากนั้นไม่นานแม่ล้มป่วยและตายด้วยโรควัณโรค ชีวิตเหมือนเรืออับปางตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อไร้ญาติขาดมิตรที่จะยึดเป็นหลักได้ แต่ชีวิตมาพลิกผันเมื่อพระโลกนาถ-พระในพระพุทธศาสนา มีเชื้อสายอิตาเลียน มาประกาศหา ?พระและสามเณรใจสิงห์? เพื่อไปศึกษาและเผยแพร่ธรรมะในต่างแดน เด็กชายกิมฮง ซึ่งเผชิญโลกอยู่เพียงลำพังด้วยวัยเพียง 13 จึงตัดสินใจไปตายเอาดาบหน้า ตัดสินใจบวชเป็นสามเณรกับพระโลกนาถที่ใต้ต้นขนุนวัดตลิ่งชัน ด้วยหวังที่จะมีโอกาสได้เล่าเรียนหาความรู้กับเขาบ้าง จากการเดินเท้าไปศึกษาและฝึกอบรมในประเทศอินเดียเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาสืบไป การนี้เองพระโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเด็กชายกิมฮงให้ใหม่ว่า ?กรุณา?
        กรุณา ใช้ชีวิตในอินเดียนานนับสิบกว่าปี ได้ศึกษาภาษาฮินดีภาษาสันสกฤต และภาษาอังกฤษจน เชี่ยวชาญ สอบภาษาฮินดีได้ที่ 1 ของอินเดีย เมื่ออายุเพียง 18 ปี เริ่มเขียนข่าวและบทความ ส่งมาตีพิมพ์ในประเทศไทย ในวารสาร ธรรมจักษุ พุทธศาสนา และ ประชาชาติ ใช้นามปากกา "สามเณรไทยในสารนาถ" จากนั้นได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิศวภารติ ศานตินิเกตัน แคว้นเบงกอลตะวันออก ของท่านรพินทรนาถฐากูร และที่อินเดียนี่เองเขาต้องติดคุกสงครามนาน 4 ปีเศษ ร่วมกับอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ในฐานะที่เป็นคนไทย เพราะประเทศไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ ต้องผจญความทุกข์ยากสารพัดถึงกับต้องกินเนื้อหมา เนื้อแมว เมื่อกลับมาเมืองไทยเป็นนักหนังสือพิมพ์โชคชะตาพาชีวิตให้รู้จักคนสนิทของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม กลายเป็นคณะทูตใต้ดิน   ไปเจริญสัมพันธไมตรีอย่างลับๆ กับจีนแดง ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อความมั่นคงในชีวิตตัวเองและครอบครัวอย่างเหลือหลาย พอบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงผู้นำ เขาถูกคุมขังนานประมาณเกือบ 9 ปี ในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร
 
       กรุณา มีความเคารพในมหาบุรุษอินเดีย 3 คนคือ มหาตมา คานธี รพินทรนาถ ฐากุร และบัณฑิตเยาวหราล เนห์รูเขาตั้งใจว่าจะต้องแปลหนังสือ 3 เล่มนี้ให้ได้ คือ อัตชีวประวัติ ของมหาตมา คานธี คีตาญชลี ของ รพินทรนาถ ฐากุร และพบถิ่นอินเดีย ของ บัณฑิตเยาวหราล เนห์รู เขาได้ทำในขณะติดคุกการเมืองที่ลาดยาว จนสำเร็จทั้ง 3 เล่ม ตามที่ตั้งใจ นับเป็นหนังสือที่ทรงความงามและไพเราะจับใจ ด้วยความสามารถทางภาษาของคู่สามีภรรยา คือ กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย   ซึ่ง อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ถึงกับกล่าวว่าเป็น ?สองสดมภ์หลักทางภาษาไทย? เลยทีเดียว และยังผลิตผลงานร่วมกันอีกมากมายอาทิ พุทธจริต   มหากาพย์สงครามมหาภารตะ ฯลฯ ผลงานที่เขาได้ทำมาทั้งหมดนั้น จึงเป็นดั่งสะพานเชื่อมโลกของไทยและอินเดียไว้ด้วยกัน เขาเป็นคนที่ทำให้สะพานทางวัฒนธรรมของสองประเทศเชื่อมต่อกันได้สนิทอย่างแนบ แน่น เพราะ ชีวิตจิตใจของเขามีความเป็นอินเดียอย่างแท้จริง


        เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 กรุณา กุศลาสัย ได้สิ้นลมปราณไปอย่างสงบ ณ บ้านลูกชาย ทางฝั่งธนบุรี นับอายุได้ 89 ปีเศษ โดยไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยแต่สิ้นอายุขัย นับว่าเป็นกุศลสมาจาร ซึ่งหาได้ยากในสมัยปัจจุบัน และการจากไปของบุรุษอาชาไนยของสยามผู้นี้ ก็ดูจะไม่เป็นที่สนใจของผู้คนในกระแสหลักของสังคม ซึ่งอาจจะลืมท่านไปเสียแล้วก็ได้ ทั้งๆ ที่ท่านมีคุณูปการกับบ้านเมืองมามิใช่น้อย และวิถีชีวิตของท่านก็เป็นแบบ อย่างในทางของปูชนียบุคคลที่หาได้ยากยิ่ง .
******* 
ปลายชอร์ก http://www.snf.or.th

Thursday, December 8, 2011

ดีแต่สอนคนอื่น

*******


        นิทานที่จะนำเสนอเป็นนิทานชาดก เป็นคติเตือนใจสำหรับครู ผมเชื่อว่าคุณครู ของผมไม่ได้เป็นดังนิทานเรื่องนี้ ครูครับครู
       ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีผู้พร่ำสอนรูปหนึ่งมักห้ามภิกษุณีรูปอื่นๆไปในที่หวงห้ามแต่ตนเองกลับไป เป็นเหตุให้ประสบเหตุร้าย ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกป่า จ่าฝูงของนกนับร้อยตัว อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่ง มีนางนกจัณฑาลตัวหนึ่ง แตกฝูงไปหากินไกลถิ่น ที่ทางใหญ่กลางดง ได้เมล็ดข้าวเปลือกและถั่วที่ตกหล่นจากเกวียนชาวบ้านเป็นอาหาร เกิดความโลภอยากเก็บไว้กินผู้เดียว เมื่อกลับมาหาฝูงจึงให้โอวาทแก่ฝูงนกว่า " ธรรมดาทางใหญ่ในดงลึก มีภัยเฉพาะหน้ามาก ทั้งจากฝูงช้าง ม้าและยวดยานที่เทียมโค ถ้าไม่โผบินขึ้นได้เร็ว ก็อย่าไปที่นั้นนะ " ฝูงนกจึงตั้งชื่อให้นางนกนี้ว่า แม่อนุสาสิกา
         ต่อมาวันหนึ่ง นางกำลังหากินอยู่ ได้ยินเสียงยานแล่นมาด้วยความเร็ว ก็เหลียวดูนึกว่า ยังอยู่ไกลตัว ทันใดนั่นเอง ยานพลันถึงตัวนาง ด้วยความเร็วปานลมพัด นางไม่อาจโผบินขึ้นได้ทัน จึงถูกล้อยานทับตัวขาดเป็นสองท่อน นอนตายอยู่ตรงนั้น
         นกจ่าฝูง เมื่อไม่เห็นนางกลับมาเข้าฝูง จึงเรียกประชุมนกและให้ออกติดตามหา ไปพบนางในที่นั้น จึงกล่าวคาถาว่า
     " นางนกป่าชื่ออนุสาลิกา พร่ำสอนนกตัวอื่นอยู่เนืองนิตย์
       แต่ตัวเองกลับโลภจัด จึงถูกล้อรถบดขยี้ขาดเป็น ๒ ท่อน นอนอยู่ที่หนทางใหญ่ "
******
ขอบคุณ http://www.dhammathai.org

Wednesday, December 7, 2011

อิทธิบาท ๔ (คุณธรรมที่คุณครูสร้างให้มีในนักเรียน)

อิทธิบาท ๔ 
(คุณธรรมที่คุณครูสร้างให้มีในนักเรียน)
โดย พุทธทาสภิกขุ
       คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
        ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
        ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
        ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
        ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
      ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึงการการะทำที่ติดต่อไม่ขาดตอนเป็นระยะยาว จนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่งจิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้น ไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
       วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่าปัญญาไว้อย่างเต็มที่บุคคลเมื่อประกอบด้วย คุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่  ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึงความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่น นอกนั้นไป ถือว่าเป็น เรื่องพิเศษ และ ไม่มี ขอบขีดจำกัด 
       เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องนอกเหนือ วิสัยธรรมดา อยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่า คนเราอาจมีอายุยืน ถึงกัลป์ ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้มิได้มีความหมาย ขัดกัน ในข้อที่ว่า อิทธิบาท ๔ นี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถ เจริญอิทธบาทให้มากถึงเท่านั้นได้หรือไม่ ต่างหาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่า หลักเกี่ยวกับอิทธิบาท นี้ คงมีความหมาย ไปตามตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆว่าวิสัยของใคร ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลังของอิทธิบาทนั้น แม้ในสิ่งที่บางคน ถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพานในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปเตยย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย
        วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น ซึ่งที่แท้ ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมาย ที่เห็นได้ชัด ยิ่งขึ้นว่า ในการทำกิจใดๆ ก็ดี ย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่ หรือเป็นประธานในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท นี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิต ยืนยัน อยู่ในที่ หลายแห่ง ว่า การตรัสรู้ อนุตรสัมมา สัมโพธิญาณ ของพระองค์เอง สำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธาน แห่งการกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็น อุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความสำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การประกอบ ประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเท่าเทียมกัน
       แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้บรรลุผลได้ตามที่ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็น หลักธรรม ที่สำคัญหมวดหนึ่ง ในบรรดา โพธิปักขิยธรรม ทั้งหลายนี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็น เครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้ โดย ปราศจากอุปสรรค ตั้งแต่ต้น จนถึง จุดหมายปลายทาง
******* 
กิ่งธรรมจาก http://www.buddhadasa.com