Tuesday, February 16, 2016

ตามรอยพระยุคลบาท

ตามรอยพระยุคลบาท
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพรั่งพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม ทรงตรากตรำพระวรกาย เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศ ด้วยพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงพระราชทานพระราชดำริ ทรงทำเป็นแบบอย่าง  เพื่อประโยชน์สุขของประชาราษฎร์ และนำมาซึ่งความผาสุกแก่ประชาชนอย่างแท้จริง
  และเรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวที่ น้อมนำในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงแนะนำ เพื่อนำมา เป็นแนวทางในการดำเนินชืวิต และเพื่อประกอบการ การเรียนรู้ตามแนวรอยพระยุคลบาท ของนักศึกษา ที่จะอเดินตามรอยเท้าพ่อไป เหนื่อยยากเพียงไหน ไม่ทำให้พ่อผิดหวัง...
    


 


เพลงเดินตามรอยพ่อ 

        ตามรอยพระยุคลบาท ที่พระองค์ได้ทรงทำเป็นแบบอย่าง



ตามรอยพระยุคลบาท



คลิป (เสียง) ในหลวงทรงวิทยุ




         จิตสำนึก...ตามรอยพระยุคลบา

ประมวลคำในพระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓ - ๒๕๔๕
ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                                                     

 การทำงาน

ความจริงงานทุกอย่างถ้าทำด้วยน้ำใจรัก ย่อมมีทางสำเร็จได้ผลดี เมื่อพบอุปสรรคใดๆ อย่าเพิ่งท้อแท้จะหมดกำลังใจง่ายๆ จงตั้งใจทำให้ดี คิดหาทางที่จะแก้ไขผ่อนคลายอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุผลและหลักวิชา ไตร่ตองด้วยความสุขุมรอบคอบและเยือกเย็น งานจะลุล่วงไปด้วยดี การทำงานด้วยน้ำใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖)

การทำงาน อย่างใหัมีคุณภาพ ให้ได้ผลบริบูรณ์ จะทำอย่างไรเบื้องต้น ต้องทำความเห็นให้ถูกต้องในงานที่จะทำเสียก่อนโดยใช้ปัญญาไตร่ตรองให้เห็นเหตุที่แท้ ผลที่แท้ ที่ถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่พึงมุ่งหวัง แล้ววางแผนการอันแน่นอนที่จะดำเนินการต่อไป ด้วยหลักวิชา ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน และสำคัญที่สุด ต้องมีความพากเพียร ไม่ย่อหย่อนในอันที่จะกระทำต่อไปจนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๖)

การประกอบอาชีพ 

ขอให้ทุกคนจงรำลึกถึงอุดมคติของวิชาชีพที่มุ่งหวัง จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด และรักษามรรยาทของการประกอบ อาชีพโดยเคร่งครัด จงหมั่นฝึกฝนตนเองให้ทันสมัยในวิทยาการ ประกอบโรคศิลปะอยู่เสมอ

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ : ๑ เมษายน ๒๓๙๘)


แบบคนจน

ต้องแบบคนจน เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก ก็จะมีแต่ถอยหลัง ประเทศเหล่านั้น ที่เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลัง และถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเริ่มมีการบริหารที่เรียกว่า แบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละ คือเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอดไป คนที่ทำงานตามวิชาการจะต้องพึ่งตำรา เมื่อพลิกไปถึงหน้าสุดท้ายแล้ว ในหน้าสุดท้ายนั้นเขาบอก “อนาคตยังมี” แต่ไม่บอกว่าให้ทำอย่างไร ก็ต้องปิดเล่มคือปิดตำรา ปิดตำราแล้วไม่รู้จะทำอะไร ลงท้ายก็ต้องเปิดหน้าแรกใหม่ เปิดหน้าแรก ก็เริ่มต้นใหม่ ถอยหลังเข้าคลอง แต่ถ้าเราใช้ตำราแบบคนจน ใช้ความอะลุ่มอล่วยกันตำรานั้นไม่จบ เราจะก้าวหน้า “เรื่อยๆ”

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔)

 เศรษฐกิจพอเพียง / Sufficiency Economy

ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือ แม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง แ ล ะทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ก็ พอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ ของการกระทำ
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

…… ที่บอกว่าพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อแปลแล้วเป็นภาษาอังกฤษก็ไม่เข้าใจความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ก็เลย บอกแล้วว่า ถ้าไม่เข้าใจจะอธิบายใหม่ ก็ได้อธิบายใหม่ เมื่อปีที่แล้ว วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ก็ได้อธิบาย ก็รู้สึกว่าได้อธิบายอย่างแจ่มแจ้ง ยืดยาว ก็ดูใครต่อใครก็พยักหน้าว่าเออดี ทำไปทำมาก็ถามกันว่า จะทำอย่างไรสำหรับเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ก็มีการสัมมนากัน มีรายการวิทยุ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนถามกันไปถามกันมาว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวนี่เป็นอย่างไร เขาบอกว่า ....... ดี จะทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้ บางคนก็คัดค้าน

บอกว่าไม่ดี ไม่ใช่ว่าผู้ที่กล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นคล้ายๆ เป็นทฤษฎีใหม่ จะน้อยใจไม่น้อยใจ ดีใจที่ท่านผู้ที่เป็นนักเศรษฐกิจ ผู้ที่เป็นอาจารย์เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เขาอุตส่าห์ อ้างถึงเอ่ยถึงเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเขาไม่เห็นว่า มีดี เขาไม่พูดเลย ถ้าพูดเดี๋ยวหาว่ามาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี ….. มีคนหนึ่งพูด เป็นดอกเตอร์ เขาพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี่ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร แหมคันปากอยากจะพูดที่จริงที่คันปากที่จะพูดเพราะว่าตอบแล้ว อย่างที่เห็นในทีวีรายการใหญ่ เขาพูดถามโน่นถามนี่ เราดูแล้วรำคาญเพราะว่าตอบแล้ว ตอบเสร็จแล้วก็ถามใหม่เมื่อ ตอบอีกก็บอกว่าทำไมพูด คราวนี้เราฟังเขา แล้วเขาถามว่าภาษาอังกฤษจะแปลเศรษฐกิจพอเพียงว่าอย่างไร ก็อยากจะตอบว่า มีแล้วใน หนังสือ ในหนังสือไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจในหนังสือพระราชดำรัส ที่อุตส่าห์พิมพ์ และนำมาปรับปรุงดูให้ฟังได้ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะว่าคนที่ฟังภาษาไทย บางทีไม่เข้าใจภาษาไทย ก็ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่า เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ เสร็จแล้ว เขาก็มาบอกว่า คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในตำรา เศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นตำราใหม่ ถ้ามีอยู่ในตำราก็หมายความว่าเราก๊อปปี้มา เราลอกเขามา เราไม่ได้ลอก ไม่อยู่ในตำราเศรษฐกิจ เป็นเกียรติที่เขาพูดอย่างที่เขาพูดอย่างนี้ว่า Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา การที่พูดว่าไม่มีในตำรานี่

ที่ว่าเป็นเกียรตินั้นก็หมายความว่า เรามีความคิดใหม่ โดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะคิดอะไรได้ จะถูก จะผิดก็ช่างแต่ว่าเขาสนใจ แล้วก็ถ้าเขาสนใจ เขาก็สามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น ..... เศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่ว่าต้อง ดูว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ที่จะมาบอกว่าให้พอเพียงเฉพาะตัวเอง ๑๐๐ % เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แต่ว่า พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือสามารถที่จะดำเนินงานได้ เมืองไทยไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไม่ได้ตำหนิ ไม่เคยพูด นี่เพิ่งพูดวันนี้ พูดเวลานี้ ขณะนี้ว่า ประเทศไทยไม่ใช้เศรษฐกิจพอเพียงค่อนข้างจะแย่ เพราะว่าจะทำให้ล่มจม เศรษฐกิจพอเพียง ที่หมายถึงนี้ คือว่า อย่างคนที่ทำธุรกิจก็ย่อมต้องไปกู้เงิน เพราะว่าธุรกิจหรือกิจการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ คนเดียวไม่สามารถที่จะรวบรวมทุนมาสร้างกิจกรรมที่ใหญ่ เช่นเรื่องเขื่อนป่าสักคนเดียวทำไม่ได้ หรือแม้หน่วยราชการหน่วยเดียวทำไม่ได้...........ถ้านับดูปีนี้น่าจะมีความเสียหาย หมื่นล้านไม่ต้องเสีย และที่ไม่ต้องเสียนี้ก็ทำให้เกิดมีผลผลิต โดยเฉพาะอย่างเกษตรเขาก็มีผลผลิตได้ แม้จะปีนี้ซึ่งเขื่อนยังไม่ได้ทำงาน ในด้านชลประทาน ก็ทำให้ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ ก็เป็นเงินหลายพันล้านเหมือนกัน ฉะนั้นในปีเดียว เขื่อนป่าสักนี้ได้คุ้มแล้ว คุ้มค่าที่ได้สร้าง 2 หมื่นล้านนั้น ……

ก็หมายความว่ากิจการเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ก็พอเพียงเพราะว่าถ้าทำแล้ว คนอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการนี้มากมาย แต่ว่าทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์และจะทำให้เจริญ ....... แต่ว่าถ้ากิจการที่ทำไม่มีนโยบายที่แน่วแน่ ที่สอดคล้องกัน มัวแต่ทะเลาะกัน ไม่สำเร็จ ก็ถือว่าไม่ได้ประโยชน์จากกิจการที่คิด เมื่อไม่มีประโยชน์ จากกิจการที่คิด ป่านนี้เราจะจนลงไป เงินสองหมื่นล้านที่ไปลงในการสร้างนั้น เงินสองหมื่นล้านก็หมดไปแล้ว หมดไปโดยไม่มีประโยชน์ หมดไปโดยได้ทำลาย เพราะว่าเดือดร้อน เกษตรกรเดือดร้อน ชาวกรุงเดือดร้อน ฉะนั้นก็ต้องมีเหมือนกันโครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่ต้องมีการสอดคล้องกันดี ที่ไม่ใช่เพียงแต่เหมือนทฤษฎีใหม่ ๑๕ ไร่ ๑๕ ไร่ แล้วก็สามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน ไอ้นี่มันใหญ่กว่า แต่อันนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันคือ คนที่ไม่เข้าใจว่า กิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจ สมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง นี่เราวัด ได้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง อันนี้เป็นตัวอย่างในทางบวก...............เศรษฐกิจพอเพียงอีกอย่างหนึ่งไม่ค่อยอยากพูด เช่นการแลก เปลี่ยนเงิน ค่าแลกเปลี่ยน นี่ได้พูดมา 2 ปี บอกว่าขอให้เงิน ค่าของเงิน จะสูงจะต่ำเท่าไหร่ ก็ไม่ค่อยขัดข้อง แต่ว่าถ้าไม่สมดุลมันไม่ดี
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา: ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

แต่ว่าเมื่อตะกี้ เมื่อเข้ามานี้ มีคนพูดแทน ก็หวังว่าเป็นการพูดแทน ของประชาชนจริงๆ เพราะเค้าบอกว่าเค้า พูดในนามของประชาชน คนไทย ว่าจะทำตามเศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัว อันนี้ไม่ทราบว่าเค้า รู้เรื่องดีอย่างไร ถึงว่าเศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัวคืออะไร แต่ก็ ควรจะรู้ หรืออย่างน้อยที่สุด ท่านผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ข้างในนี้ ก็น่าจะรู้ น่าจะเข้าใจ เพราะว่าจำนวนมากส่วนใหญ่ ได้ฟังพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง และ ทฤษฎีใหม่มาหลายต่อหลายครั้ง แล้วไม่ได้คัดค้านว่าใช้ไม่ได้ ทำไม่ได้ มีบางคนพูดบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้ไม่ถูก ทำไม่ได้ ไม่ดี ได้ยินคนเค้าพูด แต่ว่าส่วนใหญ่บอกว่าดี แต่พวกส่วนใหญ่ที่บอกว่าดีนี้ เข้าใจแค่ไหนก็ไม่ทราบ แต่ยังไงก็ตาม เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ขอย้ำว่า เป็นการทั้งเศรษฐกิจ หรือ ความประพฤติ ที่ทำอะไรเพื่อให้เกิดผลโดยมีเหตุและผล คือเกิดผลมันมาจากเหตุ ถ้าทำเหตุที่ดี ถ้าคิดให้ดีให้ผลที่ออกมา คือสิ่งที่ติดตามเหตุ การกระทำ ก็จะเป็นการกระทำที่ดี และผลของการกระทำนั้น ก็จะเป็นการกระทำที่ดี ดีแปลว่ามีประสิทธิผล ดีแปลว่ามีประโยชน์ ดีแปล ว่าทำให้มีความสุข
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓)

ทั้งหมดนี้พูดอย่างนี้ก็คือเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า sufficiency economy ใครต่อใครก็ ต่อว่า ว่าไม่มี sufficiency economy แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไร ด้วยความอะลุ้มอล่วย กัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แล้ว

ทุกคนจะมีความสุข แต่พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นสิ่งที่ ปฏิบัติยากที่สุดเพราะว่าคนหนึ่งนั่งอยู่ที่นี้ อีกคนอยากจะนั่งเก้าอี้เดียวกัน นั่งได้ไหม ไอ้นี่ก็พูดมามาหลายปีแล้ว ก็ แต่ละคนก็สั่นหัวว่านั่งไม่ได้ เพราะว่าเดือดร้อนเบียดเบียน
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓)

เมืองไทยเนี่ยมีทรัพยากรดี ๆ ไม่ทำไม่ใช้ เดี๋ยวต้องไปกู้เงินอะไรที่ไหนมา มาพัฒนาประเทศ จริงสุนัขฝรั่งก็ต้องซื้อมา ต้องมี แต่ว่าเรามีของทรัพยากรที่ดี เราต้องใช้ ไม่ใช่สุนัขเท่านั้น อื่น ๆ ของอื่นหลายอย่าง แล้วก็ที่นายกฯ พูดถึงทฤษฎีใหม่ พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง ไอ้เนี่ยเราไม่ได้ซื้อจากต่างประเทศ แต่ว่าเป็นของพื้นเมือง แล้วก็ไม่ได้ อาจจะอ้างว่า เป็นความคิดของพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ทำมานานแล้ว ทั้งราชการ ทำราชการ ทั้งพลเรือน ทั้งทหาร ทั้งตำรวจ ได้ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมานานแล้ว อย่างตำรวจไปเปิดโรงเรียนที่บนภูเขา ใช้เศรษฐกิจพอเพียงแท้ โรงเรียนสร้างโรงเรียนใช้ไม้ผุ ๆ พัง ๆ ก็ไปเลือกมา แล้วก็คนที่เป็นครู ก็เป็นตำรวจ ๒ คน ได้เลี้ยงดู สอนเด็ก ๑๐ คน ๑๕ คน แล้วก็นอกจากเลี้ยงดู ยังเป็นบุรุษพยาบาลด้วย ดูผู้ที่เป็น เออ มาลาเรียตรวจเลือด ตำรวจพวกนี้เขาตรวจเลือดแล้วก็เมื่อเป็นยังไง เขาก็ส่งผู้ที่ป่วย ช่วยชีวิตเด็กและผู้ใหญมากมาย แต่อย่างนี้ถือว่า เถื่อน หาว่าเถื่อน หาว่าตำรวจป่าเนี่ย เขาเรียกว่า ตำรวจป่า พวกตำรวจชายแดนนี่ ตำรวจป่า เขา คนอื่นในกรุง หาว่าเป็นตำรวจป่า แต่ที่จริง ตำรวจป่าเนี่ยเขาช่วยชีวิตคนมากมาย มากหลาย
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕)

วิธีปลูกข้าวไม่เหมือนของเรา เราเพิ่งพบวิธีปลูกข้าวในพรุ ทำให้นราธิวาสมีกินแล้วขายได้ อันนี้นี้หมายความว่า ต้องสอนให้เด็กๆ มีจินตนาการ ตอนนี้ฝ่ายมลายูเขาก็มีเทคโนโลยีสูง เราก็ชื่นชมรัฐบาลมาเลเซียเขาเก่ง มีความสามารถ ฉลาด แต่ตอนนั้นเขาปลูกข้าวไม่เป็น ต้องเอาคนไทยไปสอน แต่ที่เราสอนได้ จากคนที่มีความรู้แล้วเรียนเกี่ยวกับการเกษตร แล้วมาพลิกแพลงให้สามารถทำให้ดินมีผลิตผลได้ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ สามารถเลี้ยงตัวได้ถึงมาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ก้าวหน้าไม่ใช่เพียงแต่ปลูกพอกินอย่างนั้น มันต้องมีพอที่จะตั้งโรงเรียน แม้แต่ศิลปะเกิดขึ้น ประเทศชาติถือว่าประเทศไทยเจริญในทุกทาง ไม่หิว มีกิน คือไม่จน มีกิน มีอาหารใจ หรืออะไรอื่นๆ ให้มากๆ
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)

ความสะดวกจะสามารถสร้างอะไรได้มาก นี่คือเศรษฐกิจพอเพียง สำคัญว่าต้องรู้จักขั้นตอน ถ้านึกจะทำอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง ถ้าไม่เร็ว ช้าไปก็ไม่พอเพียง ต้องให้รู้จักก้าวหน้า โดยไม่ทำให้คนเดือดร้อน อันนี้เศรษฐกิจพอเพียงคงได้ศึกษามาแล้ว เราพูดมาแล้ว ๑๐ ปี ต้องปฏิบัติด้วย
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖

 อยู่ดีกินดี
ฉะนั้นทุกคนที่ทำหน้าที่ตามอาชีพของตน หรือตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ อย่างเสียสละ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้น ก็เป็นสิ่ง ที่สร้างเสริมความดีแก่ประเทศชาติในตัวอย่างที่สองคืองานที่ตนทำนอกเหนือจากหน้าที่การงานที่มีอยู่ คืองานที่เอื้อเฟื้อคนอื่น งานที่จะสร้างสรรค์คิดค้นอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ จะโดยตรง หรือโดยอ้อมนั้นก็เป็นสิ่งที่สมควรที่จะทำ ไม่ทำให้งานประจำนั้นเสียไป ตรงข้ามส่งเสริมให้งานประจำนั้นดีขึ้น ส่งเสริมให้อยู่ดีกินดีขึ้น และมีจิตใจที่มุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จิตใจที่มุ่งเพื่อให้เกิดความ สามัคคีขึ้น อันนี้เป็นสิ่งที่เท่ากับเป็นของขวัญ ที่นำมาให้อีกประการหนึ่ง
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)

 การผลิต/การขาย/ การบริโภค
การส่งเสริมที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่กำลังเร่งกระทำอยู่ขณะนี้ คือ การเพิ่ม ผลผลิต โดยที่ถือว่า ผลผลิตเป็นที่มาของรายได้ การผลิตนั้น ทุกคนคงเห็นได้ไม่ยากว่า มีความเกี่ยวพันถึงความต้องการ ตลาด การจำหน่าย วิธีจัดกิจการ ตลอดจนถึงการนำรายได้ หรือผลประโยชน์จากการผลิตมาใช้สอย บริโภคด้วย ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตที่ถูกต้อง จึงมิใช่การใช้วิชาการทางการเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว แต่หากต้องเป็นการใช้วิชาการทางการเกษตรประกอบกับวิชาการด้านอื่นๆ ช่วยให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์ตอบแทนแรงงาน ความคิด และทุนของเขาที่ใช้ไปในการผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งให้สามารถนำผลตอบแทนนั้นมาใช้สอยปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ ให้มั่นคงขึ้นได้ด้วย
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย

 พึ่งตนเอง
Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) ....... บางคนแปลจาก ภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี่ มีคนบางคน พูดว่าชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธ แต่ตัวเองยืนบนขาตัวเองก็ต้องเสียหลักหกล้มหรือล้มลง อันนี้ก็ เป็นความคิดที่อาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่ายืน บนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) หมายความว่า สองขาของ เรานี่ ยืนบนพื้น ให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืนขาของคนอื่นมา ใช้สำหรับยืน
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

                                กิจกรรม

     แบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่ม ศึกษาพระบรมราโชวาท  ตามที่กำหนดไว้ แล้วจัดทำแผนภาพ ข้อเสนอแนวทาง การเรียนรู้ ที่กลุ่มรับผิดชอบ  พร้อมให้แต่ละกลุ่มบันทึกการเรียนรู้ทั้งหมด แล้วนำเสนอข้อกลุ่มใหญ่ พร้อมกับมอบหมายให้ เรียนรู้พระบรมราโชวาท เรียนรู้ลงลึกเพิ่มเติมจากพระบรมราโชวาท แลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่น

ศึกษาเพิ่มเติม
ขอบคุณ 
 http://www.eto.ku.ac.th/s-e/pdf/
 http://www.kasetporpeang.com
          youtube.com